Calcium L-Threonate

 

แคลเซียมในคนแต่ละวัย 

วัยเด็ก (แรกเกิด – อายุ 14 ปี)

เป็นช่วงที่มีการขยายของกระดูก ทั้งในด้านขนาด, รูปร่าง, สัดส่วน ช่วงนี้กระดูกก็จะมีอัตราการสร้างมากกว่าการสลาย เพราะเป็นวัยที่สามารถสะสมมวลกระดูกและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมได้มากที่สุด เพื่อการเพิ่มความสูงและป้องกันภาวะกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ

การสร้างกระดูกให้สูงใหญ่และแข็งแรง จึงควรเริ่มตั้งแต่ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15 – 44 ปี)

จากการศึกษาทางคลินิกของสหรัฐอเมริกา ในเด็กผู้หญิงอายุ 12 ปี จำนวน 38 คน ที่ทานแคลเซียม ในปริมาณ แคลเซียม 800 มก., แมกนีเซียม 400 มก., วิตามินดี3 400 ยูนิตสากล (IU) ต่อวัน นาน 12 เดือน พบว่า มีการสร้างมวลกระดูกและเพิ่มความหนาแน่นในกระดูกซึ่งส่งผลต่อความสูงที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทานอย่างมีนัยสำคัญ

 

วัยหนุ่มสาว อายุ 15 – 24 ปี

วัยหนุ่มสาวนี้เป็นช่วงวัยที่ร่างกายกำลังดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก ดังนั้นจึงควรได้รับแคลเซียมปริมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม เพื่อเสริมความแข็งแรงและเพิ่มมวลกระดูกให้หนาแน่นยิ่งขึ้น เนื่องจากถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะส่งผลเสียตามมาภายหลังอย่างเช่น ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อน อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือกระดูก และหากกระดูกมีการแตกหักเกิดขึ้น จะทำให้กระดูกสมานตัวได้ช้ากว่าปกติ

 

วัยกลางคน – วัยสูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่อายุ 30 ปี ขึ้นไป ร่างกายจะเริ่มไม่สะสมแคลเซียมอีกต่อไป และยังมีโอกาสการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกสูงขึ้น จึงมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูกมากขึ้น ดังนั้นในช่วงวัยนี้จึงควรได้รับแคลเซียมปริมาณวันละ 1,500 มิลลิกรัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ที่จำเป็นต้องตัดมดลูกและรังไข่ ซึ่งมีการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกภายในระยะเวลา 5 – 6 ปี หลังจากที่ฮอร์โมนเพศเริ่มทำงานลดน้อยลง

สำหรับผู้สูงอายุที่มีการเสริมแคลเซียมไว้อย่างเพียงพอ หรือได้รับการสะสมแคลเซียมก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงวัยนี้ จะช่วยยับยั้งและลดการสูญเสียกระดูกได้ ซึ่งการผุกร่อนของกระดูกจะลดน้อยลง ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกในช่วงวัยนี้ได้พอสมควร

 

 

 

แคลเซียมกับการเกิดโรคกระดูกพรุน

 ในหนึ่งวัน... คนไทยต้องได้รับแคลเซียม 800-1,500 มก.แต่ความเป็นจริงคนไทยได้รับแคลเซียมต่อวันเฉลี่ยเพียง 361 มก.เท่านั้น หากร่างกายเราได้รับ แคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมถูกดึงออกมาใช้มากจนกระทั้งกระดูกพรุน เปราะบางทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง แตกหักได้ง่ายแม้จะได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของโรค กระดูกพรุน 

ในระยะแรกโรคนี้จะไม่แสดงอาการออกมา จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมเนื่องจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

-ผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป พบว่าการสะสมแคลเซียมในกระดูกจะมีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นคือ ขบานการสะสมแคลเซียมในกระดูกกับการสลายแคลเซี่ยมออกจากกระดูกมีค่าเท่ากัน พออายุเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการสะสมแคลเซียมในกระดูกจะน้อยกว่าขบวนการสลายแคลเซียมออกจากระดูก ทำให้เนื้อกระดูกบางลง 

-หญิงวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศที่ลดลง ทำให้ขบวนการสลายแคลเซียม เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ไวขึ้น

-ผู้ที่ดึ่มกาแฟเป็นประจำ พบว่าการดึ่มกาแฟเป็นประจำจะรบกวนการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย

-ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย

-ผู้ที่ดึ่มสุราเป็นประจำ

-ผู้ที่สูบบุหรี่

-ผู้ที่ขาดแคลเซียม หรือวิตามินดี

 

คำแนะนำจาก COACH BANK นักวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้แคลเซียมที่เพียงพอ 

แคลเซียมแอลทรีโอเนตดีกว่าแคลเซียมฟอร์มอื่นอย่างไร

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต

เป็นแคลเซียมที่สกัดมาจากข้าวโพด แคลเซียมชนิดที่ละลายน้ำได้ดีมาก สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้เกือบ 100% สามารถดูดซึมได้ดีกว่า แคลเซียมคาร์บอเนตถึง 6 เท่า

 

แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ดีอย่างไร ?

  • แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่าแคลเซียมชนิดอื่นๆ เพราะสามารถรักษาคุณค่าของแคลเซียมได้ครบถ้วนคือ ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง ยับยั้งการสลายตัวของกระดูกบริเวณข้อต่อและกระดูกอ่อน ช่วยปรับปรุงกระบวนการสร้างเซลล์กระดูกให้แข็งแรงขึ้น
  • แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ได้รับสิทธิบัตรจากอเมริกาว่าสามารถยับยั้งและป้องกันโรคกระดูกผุหรือกระดูกหักง่าย เนื่องจากมีกระดูกบาง พรุนและข้อเสื่อม โดยได้รับการทดลองและสนับสนุนจากทางการแพทย์ใน USA

   

กระดูกพรุน หรือบางคนอาจจะเรียกว่ากระดูกเสื่อม กลุ่มนี้คือการที่ตัวเนื้อกระดูกบางลง มีรูพรุนเพิ่มขึ้น ทำให้มวลเนื้อกระดูกลดลง  ซึ่งทำให้กระดูกเปราะ แตกหักง่าย ที่ตำแหน่งกระดูกสันหลังกระทั่งทำให้กระดูกสันหลังยุบตัวโดยอาจทำให้มีอาการเจ็บปวดและหลังโก่งงอมากขึ้นได้ ถ้าหากเกิดในตำแหน่งกระดูกอื่นๆ ที่พบบ่อยคือ กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก-ต้นขา ก็จะทำให้กระดูกเหล่านี้เปราะบางและหักง่ายขึ้น เวลาเราล้มหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมาก ก็อาจจะทำให้เกิดกระดูกหัก

 

สำหรับโรคที่มาควบคู่กับโรคกระดูกพรุน ที่หลายคนมองข้ามคือ โรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมนี้เกิดขึ้นได้กับทุกๆข้อกับร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบมากในข้อใหญ่ๆ และข้อที่รองรับน้ำหนักตัว เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพกหรือข้อเท้า คนไทยเองส่วนมากเกิดในข้อเข่าเยอะที่สุดนะครับ โรคข้อเสื่อมจริงๆเกิดจากการที่ข้อต่อต้องเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักต่อเนื่องสะสมกันมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ  เกิดเป็นความขรุขระ ไม่เรียบของผิวกระดูกอ่อน  ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน เกิดอาการเจ็บข้อ และเคลื่อนไหวติดขัด ตามระดับความรุนแรงของโรค

 

"UC-II" ทางเลือกใหม่ในการดูแล...ข้อเข่าเสื่อม

ในปี 2016 Lugo J P และคณะ ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของคอลลาเจน UC-II ขนาด 40 มิลลิกรัมต่อวัน ในการบรรเทาอาการปวดและการอักเสบของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เทียบกับกลุ่มที่รักษาด้วยสารสกัดสูตรผสมของกลูโคซามีน ขนาด 1,500 มิลลิกรัม และคอนดรอยติน ขนาด 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมทั้งหมด 191 คน ติดตามผลการรักษานาน 6 เดือน

พบว่า คอลลาเจนไทพ์ทู (UC-II) สามารถบรรเทาอาการและลดการอักเสบของข้อเข่าเสื่อมได้ดีทั้งด้านการลดอาการปวดข้อ อาการข้อเข่าติด และการใช้งานของข้อเข่า และพบว่าดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม ที่ได้รับสารสกัดสูตรผสมของทั้งกลูโคซามีนและ คอนดรอยติน รวมทั้งกลุ่มที่ได้ยาหลอก

 

STRONKA 15 caps
STRONKA 30 caps
STRONKA 2 แถม 1

ทำไมเราจึงต้องทานแคลเซียมเสริม
 
ภัยเงียบ!!คนไทย 90% เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
 
แพทย์เผยคนไทยเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูงถึง 90% โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี และ 1 ใน 5 ของผู้ชายอายุเกิน 60 ปี มีปัญหากระดูกพรุน โดยร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น
 
นายแพทย์เทพรักษา เหมพรหมราช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมุทรสาคร เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์โรคกระดูกพรุนของประเทศไทย ว่า ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ถึง 90% องค์การอนามัยโลก (WHO)
 
รายงานว่าสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนทั่วโลก เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุข อันดับ 2 ของโลกรองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด โดยผู้หญิงทั่วโลกเป็นโรคกระดูกพรุน มากกว่า 200 ล้านคน ในประเทศไทยถือเป็นภัยเงียบที่คนส่วนใหญ่มองข้ามและไม่ระวังตัว ซึ่งค่ารักษาโรคกระดูกพรุนต้องใช้เงินเฉลี่ยปีละ 300,000 บาท/คน
 
สามารถดูบทความเต็มได้จากลิงค์ด้านล่างค่ะ
Visitors: 391,919